สำนวนไทย หมวด ส
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่เกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
รวมสำนวนไทย หมวด ส
สำนวนไทย หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก สำนวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- สดๆ ร้อนๆ
หมายถึง ทันทีทันใด - สมน้ำสมเนื้อ
หมายถึง พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อกันดีแล้ว - สร้างวิมานในอากาศ
หมายถึง ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย - สวมหัวโขน
หมายถึง เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ - สวมเขา
หมายถึง ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย - สองสลึงเฟื้อง
หมายถึง บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ - สองหน้า
หมายถึง ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. - สองหัวดีกว่าหัวเดียว
หมายถึง ร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษา - สอดรู้สอดเห็น
หมายถึง เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. - สอนลูกให้เป็นโจร
หมายถึง ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร. - สอยดอกฟ้า
หมายถึง หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็นคู่ครอง. - สันหลังยาว
หมายถึง เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า. - สาดเสียเทเสีย
หมายถึง อย่างเจ็บแสบทำให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย. - สาดโคลน
หมายถึง ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นให้มัวหมอง - สามวันดีสี่วันไข้
หมายถึง เจ็บออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ - สามสลึงเฟื้อง
หมายถึง บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ - สาวไส้กันเอง
หมายถึง เปิดความลับของกันและกัน - สาวไส้ให้กากิน
หมายถึง การนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่างๆ สำนวนนี้มักจะใช้สื่อถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ดี และมักจะมีคู่กรณีที่ต่างคนต่างแฉกันและกัน - สาหัสสากรรจ์
หมายถึง แสนสาหัส, ร้ายแรงมาก, คอขาดบาดตาย, เช่น ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์, โดยปริยายหมายความว่า ลำบากยิ่ง เช่น ทางนี้ทุรกันดารสาหัสสากรรจ์ บุกป่าฝ่าดงอย่างสาหัสสากรรจ์. - สิบคนเกื้อไม่เท่าเนื้อไข
หมายถึง หลายสิบคนช่วยเหลือมีบุญคุณ ก็ไม่เท่าญาติพี่น้อง เปรียบเหมือนเลือดข้นกว่าน้ำ - สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
หมายถึง การบอกเล่าบอกต่อผ่านคนมามากๆ ก็ไม่เท่ากับเราได้เห็นด้วยตาตนเอง อย่าเพิ่งไปเชื่อสิ่งที่คนบอกต่อ ๆ กันมา จะจริงหรือไม่ต้องไปสัมผัสไปเห็นด้วยตัวเอง - สิบแปดมงกุฎ
หมายถึง เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น. - สิ้นเนื้อประดาตัว
หมายถึง ไม่มีทรัพย์สมบัติเหลือติดตัว เช่น เขากลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะหมกมุ่นในการพนัน กิจการค้าของเขาล้มเหลวจนสิ้นเนื้อประดาตัว. - สิ้นไร้ไม้ตอก
หมายถึง ยากไร้, ขัดสนถึงที่สุด, เช่น เขาเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก บ้านไม่มีจะอยู่ เสื้อผ้าแทบไม่มีจะใส่. - สิ้นไส้สิ้นพุง
หมายถึง อาการที่เปิดเผยทั้งหมดไม่มีปิดบังอำพราง - สุกเอาเผากิน
หมายถึง อาการที่ทำลวก ๆ, อาการที่ทำพอเสร็จไปคราวหนึ่ง ๆ เช่น เขาทำงานสุกเอาเผากิน พอให้พ้นตัวไป - สุดท้ายปลายโด่ง
หมายถึง ปลายสุด - สุดหล้าฟ้าเขียว
หมายถึง ไกลมากที่สุด เช่น เขาหนีไปอยู่สุดหล้าฟ้าเขียว ยากที่ใครจะตามไปถึง - สุ่มสี่สุ่มห้า
หมายถึง ซุ่มซ่าม, ไม่ระมัดระวังให้ดี, ไม่ดูให้ดี, เช่น เดินสุ่มสี่สุ่มห้าเลยตกบันได กินอาหารสุ่มสี่สุ่มห้าเลยท้องเสีย - สู้ยิบตา
หมายถึง สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา) - สู้เหมือนหมาจนตรอก
หมายถึง ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี เช่น พอจนมุมเข้า เขาก็สู้เหมือนหมาจนตรอก - ส่ง ๆ
หมายถึง ลวก ๆ, มักง่าย, ส่งเดช ก็ว่า - ส่งเดช
หมายถึง ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น ทำส่งเดชพอให้พ้นตัว, ส่ง ๆ ก็ว่า - เสียรังวัด
หมายถึง พลอยได้รับผิดด้วยในเหตุที่เกิดขึ้น, พลอยเสียหายไปด้วย, เช่น เด็กในบ้านไปขโมยมะม่วงของเพื่อนบ้าน เขามาต่อว่า เจ้าของบ้านก็พลอยเสียรังวัดไปด้วย. - เสือกระดาษ
หมายถึง ประเทศ องค์การ หรือผู้ที่ทำท่าทีประหนึ่งมีอำนาจมากแต่ความจริงไม่มี - เสือซ่อนเล็บ
หมายถึง ดูไม่มีอะไรน่ากลัวหรือมีอะไรโดดเด่น แต่แท้จริงแล้วอาจแอบซ่อนความสามารถ ที่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ไครรู้ - เสือนอนกิน
หมายถึง คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง. - เสือลากหาง
หมายถึง คนที่ทำท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจแล้วเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทำท่าอย่างเสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เช่น ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็นท่าทาง ทีเสือลากหางให้นางกลัว. (สังข์ทอง). - เสือลำบาก
หมายถึง เสือที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บ มีความดุร้ายมากกว่าปรกติ, โดยปริยายหมายถึงคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. - เส้นตื้น
หมายถึง ที่ทำให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ง่าย เช่น เขาเป็นคนเส้นตื้น ได้ยินเรื่องขำขันนิดหน่อยก็หัวเราะ - เส้นยาแดงผ่าแปด
หมายถึง เฉียดกันนิดเดียว เช่น เขายิงพลาดเป้าไปเพียงเส้นยาแดงผ่าแปด; เล็กมาก, ละเอียดมาก, เช่น เรื่องนี้ไม่ต้องอธิบายถี่ถ้วนอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด, เส้นผมผ่าแปด ก็ว่า. - ใส่คะแนนไม่ทัน
หมายถึง เร็วมาก, คล่องมาก, (ใช้แก่กริยาพูด), เช่น เธอพูดเร็วมากจนใส่คะแนนไม่ทัน. - ใส่หน้ากาก
หมายถึง แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า. - ใส่ไฟ
หมายถึง เติมเชื้อเพลิง เช่น คอยเอาฟืนใส่ไฟไว้นะ อย่าให้ไฟดับ; จุดไฟเผาศพ; โดยปริยายหมายถึงให้ร้ายผู้อื่นทำให้ได้รับความเสียหาย เช่น เขาใส่ไฟผม อย่าไปเชื่อ. - ไส้เป็นหนอน
หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ - ไส้แห้ง
หมายถึง ยากจน, อดอยาก