สำนวนไทย หมวด อ
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่เกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
รวมสำนวนไทย หมวด อ
สำนวนไทย หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก สำนวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ออกยักษ์ออกโขน
หมายถึง กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ - ออกลาย
หมายถึง เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทำดีมาแล้ว - อัฐยายซื้อขนมยาย
หมายถึง เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น - อ้าปากเห็นลิ้นไก่
หมายถึง รู้ทันกัน รู้ทันสิ่งที่จะทำ - เออออห่อหมก
หมายถึง เอาใจฟัง, เห็นด้วย, พลอยเห็นไปตามด้วย (เหมือน เออออ) - เอาข้างเข้าถู
หมายถึง ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า - เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ
หมายถึง อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง - เอาน้ำลูบท้อง
หมายถึง อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว - เอาปูนหมายหัว
หมายถึง ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้ - เอามือซุกหีบ
หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่ - เอาหน้า
หมายถึง อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ, ทำงานเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่