สำนวนไทย หมวด ว
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่เกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
รวมสำนวนไทย หมวด ว
สำนวนไทย หมวด ว ตามที่เคยรู้จัก สำนวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- วัดรอยตีน
หมายถึง เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า - วัวพันหลัก
หมายถึง อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. - วัวสันหลังขาด
หมายถึง คนที่ทำผิดแล้วคอยระแวงกลัวผู้อื่นจะรู้ - วัวสันหลังหวะ
หมายถึง คนที่ทำผิดแล้วคอยระแวงกลัวผู้อื่นจะรู้ - วัวแก่กินหญ้าอ่อน
หมายถึง ชายแก่ได้หญิงสาวเป็นภรรยา - วางเพลิง
หมายถึง จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น - ว่านอนสอนง่าย
หมายถึง อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี - ว่าวติดลม
หมายถึง เพลินจนลืมตัว - ว่าสาดเสียเทเสีย
หมายถึง ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหายอย่างรุนแรง - ว่าเป็นฉาก
หมายถึง พูดเป็นเรื่องเป็นราวติดต่อกันไป - ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
หมายถึง การต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกับประพฤติผิดแบบนั้นซะเอง - ไวไฟ
หมายถึง ที่ติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก เช่น น้ำมันไวไฟ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความประพฤติหละหลวมในทางชู้สาว มีลักษณะดังสิ่งไวไฟ - ไว้เนื้อเชื่อใจ
หมายถึง ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ