ค้นเจอ 114 รายการ

กระดังงาลนไฟ

หมายถึงหญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน

นกต่อ

หมายถึงคนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี).

ฆ้องปากแตก

หมายถึงคนที่เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับหรือเรื่องไม่ดีของผู้อื่นไปโพนทะนา ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก

หมายถึงมีเรื่องราวเดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไขหรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีก กลายเป็น 2 เรื่องขึ้นในคราวเดียว

ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

หมายถึงทำอะไรดูเหมือนจะละเอียดถี่ถ้วนดี แต่ความจริงแล้วไม่รอบคอบ หรือบางทีก็ดูเหมือนจะใช้สอยอย่างกระเหม็ดกระแหม่ในบางเรื่องแต่อีกเรื่องหนึ่งกลับสุรุ่ยสุร่าย

กินบุญเก่า

หมายถึงได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า)

ตาร้อน

หมายถึงเป็นอาการของคนที่มีความรู้สึกอิจฉาผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ ที่เหนือกว่าตน หรือเห็นคนอื่นได้ดี

หมาหางด้วน

หมายถึงคนที่ทำอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทำตามโดยยกย่องการกระทำนั้นว่าดี ควรเอาอย่าง

สอนลูกให้เป็นโจร

หมายถึงไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร.

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า

พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ